สาระน่ารู้ การตลาด การตลาดออนไลน์

เลิกเบื่องาน ก่อนตกงาน ปรับทัศนคติ คิดบวกก็แก้เบื่อ
ท่านเคยมีอาการเช่นนี้หรือไม่ …ตื่นเช้ามาอย่างหมดแรง หมดอาลัยตายอยาก ไม่คิดอยากเดินทางไปทำงาน

…บ่นให้คนรอบข้างฟังเสมอว่า เบื่อ เซ็ง กับงานที่ทำอยู่
…ทนทำงานให้หมดไปวัน ๆ และเฝ้ารอให้ถึงวันศุกร์เร็ว ๆ เพื่อวันเสาร์-อาทิตย์จะได้เที่ยวพักผ่อน
…ทำงานอย่างเช้าชามเย็นชามไปวัน ๆ ไปทำงานสายเป็นประจำ แต่ตกเย็นมักจะรีบกลับบ้านก่อนเพื่อน หากส่อเค้ามีอาการดังกล่าว พึงระวัง! ท่านอาจกำลังป่วยเป็น “โรคเบื่องาน” เข้าให้แล้ว โรคเบื่องานเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความเบื่อหน่ายจากลักษณะงาน อาทิ บทบาทงานที่ตนรับผิดชอบนั้นไม่ตรงกับความชอบความถนัด การได้ทำงานเดิม ๆ ซ้ำซากจำเจ ไม่ท้าทายความสามารถ หรือความเบื่อหน่ายที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน อาทิ เบื่อระบบงานที่เชื่องช้าซ้ำซ้อนไร้ประสิทธิภาพ มีปัญหากับเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานจนทำให้พาลเบื่องานไปด้วย ผู้ที่มีอาการของโรคเบื่องานมักจะหาทางออกให้ตนเองหลุดพ้นจากความเบื่อหน่ายที่มีอยู่ โดยในขั้นแรกอาจด้วยการพยายามอดทนทำงานนั้น ๆ ต่อไป เนื่องจากยังไม่มีทางออกอื่นที่ดีกว่า ต่อมาเมื่อความเบื่อดำเนินมาถึงขีดสุดจึงอาจผันตัวจากงานที่ตนทำอยู่ด้วยการเปลี่ยนงาน หรือลาออกจากงานเดิมไปหางานอื่นทำ เพื่อหลีกหนีจากความซ้ำซากจำเจเดิม ๆ ไปสู่สภาพแวดล้อมใหม่ งานใหม่ที่คิดว่าน่าจะดีกว่า ในความเป็นจริง ไม่ว่าเราจะทำงานที่ใดองค์กรใดก็ตาม ย่อมประสบปัญหาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก การเปลี่ยนงานอาจไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาในเรื่องความเบื่อหน่ายที่ถูกต้องตรงจุดก็เป็นได้ สิ่งสำคัญที่ควรตระหนัก คือ เราไม่สามารถเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัวเราให้เป็นไปตามที่ใจเราต้องการได้เสมอไป เช่น ลักษณะงานที่ทำ เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ การใช้วิธีหนีปัญหาทุกครั้งด้วยการลาออกหรือเปลี่ยนงานใหม่ย่อมไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด และยังเป็นการบ่มเพาะนิสัยการเป็นคนไม่หนักเอาเบาสู้

3 วิธีลดหย่อนภาษี สำหรับมนุษย์เงินเดือน
เข้าสู่ช่วงปลายปีพวกเราก็อาจจะเริ่มคำนวณแล้วว่ารายได้ตั้งแต่ต้นปีนั้นมีแนวโน้มว่าจะต้องเสียภาษีในเดือนมีนาคมปีหน้าเท่าไหร่ บางคนร้อนๆหนาวๆเพราะปีนี้รายได้เพิ่มขึ้น ก็จะเสียภาษีมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้หลายคนเริ่มมองหาหนทางที่จ่ายภาษีน้อยลงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการใช้ลดหย่อนภาษี มีวิธีการซื้อกองทุนรวมอย่างไรบ้างเพื่อซื้อให้ครบตามเป้าที่ต้องการใช้ลดหย่อนภาษี บทความนี้มีคำตอบค่ะ  

3 กลยุทธ์การซื้อกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี
วิธีที่ 1 การทยอยซื้อแบบ DCA เริ่มจากการคาดการณ์รายได้ตั้งแต่ต้นปีว่ารายได้ทั้งปีนี้อาจจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ แล้วทยอยซื้อกองทุนรวมในแต่ละเดือน ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนที่สามารถคาดการณ์รายได้แน่นอน เพราะสามารถวางแผนการซื้อกองทุนรวมในแต่ละเดือนได้เป็นระบบ เช่น ถ้าประมาณตัวเลขที่ต้องเสียภาษีทั้งปีอยู่ที่ 12,000 บาท เราจะตัดเงินจากบัญชีเงินเดือนเพื่อซื้อกองทุนรวมเดือนละ 1,000 บาท โดยใช้วิธี DCA คือ ซื้อด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันทุกเดือน ถ้าเดือนไหนกองทุนรวมมีมูลค่าหน่วยลงทุน(NAV) ราคาสูงขึ้นก็จะซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวนน้อยลง แต่ถ้าเดือนไหนมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ราคาต่ำลงก็จะซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวนมากขึ้น ทำให้เรามีมูลค่าหน่วยลงทุนในราคาถั่วเฉลี่ย ซึ่งวิธี DCA สามารถลดความผันผวนของราคาหน่วยลงทุนที่ขึ้นลงทั้งปีได้

วิธีที่ 2 การซื้อกองทุนด้วยเงินก้อน บางคนอาจจะมาตื่นตัวช่วงปลายปี พึ่งคำนวณภาษีที่อาจจะต้องเสียในปีหน้าและคาดหวังให้เงินโบนัสที่จะได้ปลายปีเป็นเงินซื้อกองทุนรวมทั้งก้อน แบบนี้ก็สามารถทำได้นะคะ แต่อาจจะต้องเจอกับช่วงราคาหน่วยลงทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายปีเพราะหลายคนซื้อกองทุนรวมเพื่อประหยัดภาษีพร้อมกัน เราอาจจะต้องวางแผนการใช้เงินโบนัสให้ดีๆ โดยคิดในมุมที่แย่ที่สุดไว้ว่าหากได้โบนัสน้อยกว่าที่คาดจะทำอย่างไร อาจจะทำให้ซื้อกองทุนไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และต้องปรับแผนการซื้อกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษีอีกครั้ง ถ้าเงินโบนัสซื้อไม่ครบจะนำเงินส่วนไหนมาซื้อ

วิธีที่ 3 การซื้อแบบผสมระหว่าง DCA และเงินก้อน สำหรับบางคนที่ประมาณการณ์รายได้เพื่อเสียภาษีคลาดเคลื่อนเพราะมีรายได้พิเศษเข้ามาระหว่างปีมากกว่าที่คาดไว้ก็อาจจะนำทั้ง 2 วิธีนี้มาผสมกัน เช่น เราคาดการณ์จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีไว้ตั้งแต่ต้นปีแล้วว่าอาจจะเสียเท่าไหร่ แล้วซื้อกองทุนรวมลดหย่อนภาษีด้วยวิธี DCA เรามาตรวจสอบตัวเลขที่จะต้องเสียภาษีอีกครั้งในช่วงปลายปี พบว่าต้องเสียภาษีมากขึ้นเพราะมีรายได้ทางอื่นเข้ามา เราอาจจะเพิ่มเงินในการซื้อกองทุนในแต่ละเดือนหรือแบ่งเงินพิเศษที่เข้ามาซื้อกองทุนรวมทีเดียวก็ได้ กลยุทธ์เหล่านี้เป็นเพียงแนวทางการซื้อกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี

ซึ่งผู้อ่านแต่ละท่านควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับวิธีการรับรายได้ของตนเอง ใครที่สนใจที่อยากลงทุน หรืออยากหากูรูมาอธิบายแนะนำให้ไปพบกันได้ที่งาน SET in the City 2014 ในวันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน 2557 ณ รอยัล พารากอน ฮออล์ ชั้น 5 สยามพารากอน งานนี้ตลาดหลักทรัพย์เค้ายกทัพกูรูเรื่องการลงทุน ให้คำปรึษาเรื่องการวางแผนสร้างพอร์ตกองทุนรวม แนะนำวิธีเลือกและดูผลการดำเนินงานกองทุนจาก Morningstar Thailand
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Sanook! Campus

เทคนิคขับรถให้ประหยัดเงินในกระเป๋า
เข้าสู่ช่วงปลายปีพวกเราก็อาจจะเริ่มคำนวณแล้วว่ารายได้ตั้งแต่ต้นปีนั้นมีแนวโน้มว่าจะต้องเสียภาษีในเดือนมีนาคมปีหน้าเท่าไหร่ บางคนร้อนๆหนาวๆเพราะปีนี้รายได้เพิ่มขึ้น ก็จะเสียภาษีมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้หลายคนเริ่มมองหาหนทางที่จ่ายภาษีน้อยลงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการใช้ลดหย่อนภาษี มีวิธีการซื้อกองทุนรวมอย่างไรบ้างเพื่อซื้อให้ครบตามเป้าที่ต้องการใช้ลดหย่อนภาษี บทความนี้มีคำตอบค่ะ  

3 กลยุทธ์การซื้อกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี
15 วิธี ขับรถให้ประหยัดทั้งน้ำมัน และเงินในกระเป๋า
1. ควรวางแผนก่อนเดินทาง จะช่วยให้ระยะทางสั้นลง และเดินทางได้เร็วขึ้นกว่าเดิม และยังประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้อีกด้วย
2. ควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิงก่อน 9 โมงเช้าเสมอ เพราะว่าอุณหภูมิเย็นน้ำมันเชื้อเพลิงจะหดตัวจึงได้ปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 2%
3. ควรเติมน้ำมัน แค่หัวจ่ายตัดก็พอแล้ว ถ้าเติมจนเต็มปรี่ พอร้อนๆน้ำมันเชื้อเพลิงจะขยายตัวแล้วระเหยทิ้งที่รูระบาย
4. ควรอุ่นเครื่องยนต์สัก 1 นาที ในหน้าร้อน และ 3 นาที ในหน้าหนาว ซึ่งเครื่องยนต์จะได้ไม่ใช้กำลังฉุดมากและการหล่อลื่นจะสมบูรณ์ขึ้น
5.ค่อยๆ ออกตัวเมื่อรถจอดนิ่ง ที่ 1,000-2,000 รอบ จะได้ความนิ่มนวล ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและลดการสึกหรอของเครื่องยนต์
6.ควรใช้เกียร์สูงขึ้นเมื่อรถวิ่งได้ 2,500 รอบ ขึ้นไป เพราะการลากเกียร์จะทำให้ชุดเกียร์ทำงานหนักจนอายุการใช้งาน สั้นและทำให้สิ้น เปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
7.ความเร็วคงที่ของเครื่องยนต์ 2,000 cc. ขึ้นไป ความเร็วคงที่ๆประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงคือ 110 Km./h. ซึ่งการรักษาเสถียรภาพความเร็วทำให้รถยนต์กินน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยที่สุดขณะรถวิ่ง
8. ความเร็วคงที่ของเครื่องยนต์ ต่ำกว่า 1,600 cc. ความเร็วคงที่ๆประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงคือ 90 Km./h. ซึ่งการรักษาเสถียรภาพความเร็ว ทำให้รถยนต์กินน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยที่สุดขณะรถวิ่ง
9. ควรพักรถสัก 15 นาที เมื่อขับรถเกิน 4 ชั่วโมง เพื่อให้ความร้อนของเครื่องยนต์ลดลง ซึ่งจะทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นในระบบคลายความร้อนลงและกลับมามีคุณสมบัติที่ดีอีกครั้ง
10.เกียร์ถอยหลังจะกินน้ำมันเชื้อเพลิงมากที่สุด ควรค่อยๆ ถอยหลังไม่ต้องเร่งเครื่องยนต์มากเกินไป โดยเกียร์ถอยหลังจะใช้อัตราทด และใช้แรงฉุดมากกว่าทุกเกียร์ 11.ควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้เหมาะสม และไม่ควรหยุดรถหรือเบรกรถโดยไม่จำเป็น ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและ ทำให้ไม่สิ้นเปลืองผ้าเบรกโดยไม่จำเป็น
12.ปิดแอร์ก่อนถึงปลายทางสัก 500 เมตร เพื่อลดภาระของเครื่องยนต์ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และพัดลมจะเป่าลมไล่ความชื้นในตู้แอร์ ไล่เชื้อราที่สะสมอยู่ในความชื้นด้วย
13.ตรวจสอบลมยางให้สม่ำเสมอ ทุกๆ 2 อาทิตย์ และหากลมยางอ่อนรถจะวิ่งได้ช้าลง ขอบยางจะสึกมากและยางจะหมดอายุก่อน กำหนด รวมทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย
14.ควรเก็บสัมภาระหรือของหนักๆที่ไม่จำเป็นออกจากรถ เพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งการเพิ่มน้ำหนักจะทำให้รถกินน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 20% ตามระยะทางที่วิ่ง
15.หมั่นปรับตั้งเครื่องยนต์ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ จะทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ดีอยู่เสมอและลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Sanook! Campus

Production

gettolearnnew.com - หมวดหมู่ ความรู้ทั่วไป

สนใจติดต่อโฆษณา support@geniusgraphic.com

@2024 gettolearnnew.com